วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

ประโยชน์และวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ


เทคนิคการนำอวัยวะ เนื้อเยื่อ เซลล์หรือโพรโทพลาสต์ขอาพืชมาเลี้ยงด้วยอาหารสังเคราะห์ ในสภาพปลอดเชื้อ ภายใต้
  การควบคุมสภาพแวดล้อมได้แก่ อุณหภูมิ แสง ความชื้น และปริมาณการถ่ายเทก๊าซ


ประโยชน์ของเทคนิคการเพาะเลี้ยงพืช

ผลิตต้นพันธุ์พืชเชิงธุรกิจโดยสามารถกำหนดปริมาณและระยะเวลาได้
การผลิตพืชที่ปลอดโรคสำหรับใช้เป็นต้นพ่อ/แม่พันธุ์ในการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์พืชด้วยเทคโนโลยีทางชีวภาพ
การอนุรักษ์และการเก็บรักษาพันธุ์พืชเป็นระยะเวลานานหลายสิบปี
การผลิตสารทุติยภูมิที่มีประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมอาหาร ยา และ เครื่องสำอาง
การทำเมล็ดเทียมเพื่อเป็นการค้าสำหรับพืชที่มีเมล็ดพันธุ์ราคาแพง

กระบวนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชมีหลักการที่สำคัญอยู่ 3 ขั้นตอน ได้แก่


1. การคัดเลือกและการเตรียมชิ้นส่วน
2. การเพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ
3. การย้ายต้นพืชออกปลูกในสภาพธรรมชาติ



การคัดเลือกและการเตรียมชิ้นส่วนพืช


ชิ้นส่วนพืชที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสมกับชนิดพืชหรือวัตถุประสงค์ของการใช้งาน


การคัดเลือกชิ้นส่วนพืช


อวัยวะของพืชที่สามารถนำมาใช้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ เช่น
- ตายอด / ตาข้าง
- ข้อ / ปล้อง
- เมล็ด
- ใบ
- ราก
ฯลฯ


การเตรียมชิ้นส่วนพืช


ล้างทำความสะอาดและตัดแต่งชิ้นส่วนพืช



tissue1




ฟอกฆ่าเชื้อด้วยสารเคมีที่ระดับความเข้มข้นและระยะเวลาที่เหมาะสม


tissue2

นำลงเลี้บงบนอาหารในสภาพปลอดเชื้อ


tissue3
                                         



ตัวอย่างการพัฒนาของเนื้อเยื่อพืช

การเกิดแคลลัสจากชิ้นส่วนพืช

Callus4
Callus5

             


การเพิ่มปริมาณต้น

          Callus3


การเกิดพัฒนาเกิดเป็นต้นที่สมบูรณ์

   Callus2
Callus1


วิธีการย้ายปลูก


1. ทำการปรับสภาพ ให้ต้นไม้ได้รับแสง และอุณหภูมิธรรมชาติประมาณ 7 - 10 วัน
2. นำต้นไม้ออกจากภาชนะอย่างระมัดระวัง
3. ล้างวุ้นที่ติดรากออกให้สะอาดอย่างเบามือ
4. แช่ต้นไม้ในสารป้องกันจุลินทรีย์ ประมาณ 10 - 15 นาที
5. ปลูกในวัสดุที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้วรดน้ำพอชุ่ม
6. คลุมด้วยถุงพลาสติกเพื่อรักษาความชื้น ในสัปดาห์แรกโดยรดน้ำทุก 1 - 2 วัน
7. เมื่อครบสัปดาห์แล้วนำถุงที่คลุมออก
8. นำต้นไม้ไว้ในเรือนเพาะชำกล้าไม้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น