วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (ตอนที่ 2)

 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (ตอนที่ 2)
โครงการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ฝ่ายวิชาการ
สถาบันการแพทย์แผนไทย
 
     การเตรียมอาหารเพื่อขยายพันธุ์และการเตรียม Stock Solution   "อาหารเพื่อการขยายพันธุ์"  คือ อาหารสังเคราะห์ที่เกิดจากการนำธาตุอาหารสังเคราะห์ต่างๆ มารวมกันปรับค่า pH ให้ได้ตามสูตรที่ต้องการ และเพิ่มความแข็งเพื่อการเกาะยึดด้วยวุ้น แล้วนำไปฆ่าเชื้อให้อาหารอยู่ในสภาพปลอดเชื้อ ส่วน Stock Solution คือการเตรียมสารเคมีตามสูตรในปริมาณที่เข้มข้น เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้
Stock Solution
สูตรอาหาร Murashige and Skoog.1962 (MS)สูตรเข้มข้น
ปริมาณสารที่ดูดใช้
Stock 1
ความเข้มข้น 50 เท่า / น้ำ (H2O) 1,000 ml
โปตัสเซียมไนเตรท (KNO3)
อัมโมเนียมไนเตรท (NH2NO3)
แคลเซียมคลอไรด์ (CACL2)


95.00 g
82.50 g
22.00 g
20 ml / L
Stock 2
ความเข้มข้น 100 เท่า / น้ำ (H2O) 1,000 ml
โปตัสเซียมไอโอไดร์ (KL)
โซเดียมโมลิเดท (NA2MOO42H2O)
โคบอลคลอไรด์ (C0CL26H2O)
              

8.30 g
2.50 g

0.25 g
0.1 ml / L
Stock 3
ความเข้มข้น 100 เท่า / น้ำ (H2O) 1,000 ml
มายโออินโนซิตอล (MTO-INOSITOL)
บอริกแอซิค (H3BO3)
โปตัสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต (KH2PO4)
แมกนีเซียมซัลเฟต (MGSO47H2O)
แมงกานีสซัลเฟต (MNSO4H2O)
ซิงค์ซัลเฟต (ZNSO47H2O)

10.00 g


0.62 g
17.0 g

37.00 g.

2.23 g
0.86 g
10 ml/ L
Stock 4
ความเข้มข้น 200 เท่า / น้ำ (H2O) 1,000 ml
เอทธิลีนไดเอมีนเตตราอาซิเตต (EDTA)
เฟอรัสซัลเฟต (FESO47H2O)


7.45 g

5.57 g
5 ml / L
Stock 5
ความเข้มข้น 100 เท่า / น้ำ (H2O) 1,000 ml
ไกลซีน (GLYCINE)
นิโคตินิคแอซิด (NICOTINIC ACID)
ไทอามีนไฮโดรคลอริค แอซิด (THIAMIN HCL)
ไพรีดอกซีนไฮโดรคลอริค แอซิด (PYRIDOXINE.HCL)


0.20 g
0.05 g

0.01 g

0.05 g
10 ml / L
Stock 6
ความเข้มข้น 100 เท่า / น้ำ (H2O) 1,000 ml
คอปเปอร์ซัลเฟท (CUSO45H2O)


0.25 g
0.1 ml / L
(ทำละลายใน HCL 1N)
     การเตรียม Stock Solution นี้ เมื่อเตรียมเสร้จแล้วควรใส่ขวดสีชาและเก็บไว้ในที่เย็นเพื่อยืดอายุการใช้งาน
การเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสูตร murashige and skoog.1926 (ms)
     1. ตวงนำกลั่นใส่ภาชนะ 200 ทส
     2. ตวง Stock solution 1-6 แต่ละตัวตามปริมาตรที่กำหนดใส่ภาชนะที่มีน้ำกลั่นอยู่
     3. เติมน้ำตาลซูโคส 30 g
     4. ปรับปริมาตรด้วยน้ำกลั่นจนได้ปริมาตร 1,000 ml
     5. ปรับต่อ PH ด้วย HCl 1 N หรือ NaOH 1 N ให้อยู่ในช่วง 5.6-5.8
     6. ชั่งวุ้น 7 g นำไปเคี่ยวหลอมวุ้นจนเข้ากันดี
     7. นำไปเทใส่ขวดขนาด 5 ออนซ์ 20 ml ขนาด 8 ออด์ 30 ml ปิดฝา
     8. นำไปฆ่าเชื่อโดยใช้หม้อนึ่งความดันไอน้ำอุณหภูมิ 121 ํC เป็นเวลา 15 นาที (นับที่อุณหภูมิ 121 ํC ) ยกออกจากหม้อ ทิ้งไว้ให้เย็น ก่อนนำไปใช้ (ควรทิ้งไว้ 1 คืนก่อนนำไปใช้)
     เมื่อทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อขึ้นเป็นต้นกล้าสูงพอประมาณถึงคอขวด ให้ทำการเพิ่มปริมาณต้น วิธีการปฏิบัติ
     1. คัดเลือกพืชในขวดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่สามารถนำมาเพิ่มปริมาณได้
     2. ทำการแบ่งเนื้อเยื่อในขวดภายใต้สภาพปลอดเชื้อ (ทำในตู้ถ่ายเนื้อเยื่อ)
     3. การแบ่งเนื้อเยื่อมห้ตัดแต่งส่วนที่ไม่มีชีวิต ใบและรากบางส่วนทิ้งไป
     4. ตัดแบ่งเนื้อเยื่อเป็นส่วน ๆ โดยต้นพืชในขวดที่มีการเพิ่มจำนวนด้วยการแตกหน่อ ให้ตัดแบ่งหน่อเป็นกอ ๆ ละ 2-3 ต้น
     5. ต้นพืชที่มีการเจริญเป็นต้นเดี่ยว ให้ตัดแบ่งเป็นข้อ ๆ โดยแต่ละข้อให้มีตาติดอยู่
     6. นำเนื้อเยื่อที่ได้ตัดแบ่งไว้วางลงบนอาหารใหม่
นำไปวางบนชั้นเลี้ยงต่อไป เมื่อต้นโตได้ขนาดแล้ว ถ้าจะทำการเพิ่มปริมาณต้นให้ทำเหมือนเดิม แต่ถ้าจะนำไปปลูก ให้นำต้นพืชนั้นไปชักนำให้เกิดราก และย้ายออกปลูกในภายหลัง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น