โครงงาน


แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์

1.             โครงงานเรื่อง              การเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่าย                                                                          
2.             ชื่อผู้เสนอโครงงาน
2.1.    นางสาวปรัศนีย์       นิยมเดชา  เลขที่  25                                                                                                  
2.2.    นางสาวปาริชาติ     บริเพ็ชร    เลขที่  33                                                                                                                  
2.3.    นางสาวกฤษลดา    มุณีแนม    เลขที่  35                                                                                                                  
3.             ครูที่ปรึกษาโครงงาน                  1.ว่าที่ร้อยตรีหญิงเจ๊ะอับเซ๊าะ   กาสาเอก
        2.นายเชษฐา เถาวัลย์
        3.นางโสภิตา สังฆะโณ
4.             หลักการและเหตุผล
                ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ซึ่งในการดำรงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้พึ่งพาอาศัยและใช้ทรัพยากรธรรมชาติจากระบบนิเวศมากเกินขีดจำกัดของธรรมชาติ ที่จะรับรองความต้องการของมนุษย์ได้    ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวะภาพในระบบนิเวศในปัจจุบันนี้ได้ลดลงอย่างรวดเร็ว จนเกิดการสูญเสียความหาลากหลายทางชีวภาพเกิดขึ้นในประเทศต่างๆรวมทั้งประเทศไทย
  การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช คือ การกระตุ้นเซลล์หรือชิ้นส่วนพืชให้เกิดการเจริญเติบโต หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงตามความต้องการบนอาหารสังเคราะห์ ภายใต้สภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง ที่สามารถควบคุมได้ในสภาพที่ปลอดเชื้อ โดยใช้สมดุลของสารควบคุมการเจริญเติบโต พืช เป็นตัวกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาของเนื้อเยื่อที่นำมาทำการเพาะเลี้ยงเพื่อการผลิตต้นพันธุ์พืชปริมาณมากในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยนำคณะผู้จัดทำได้นำเอาเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่ายมาทำเป็นโครงงาน โดยขั้นตอนการจัดเตรียมอาหารพืช ตอนนำขวดเพาะเลี้ยงที่มีอาหารอยู่ไปนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อ ซึ่งได้แบ่งการทดลองไป 2 วิธีการคือ ทดลองกับหม้อนึ่งความดันไอ และทดลองกับหม้อนึ่งธรรมดาที่ใช้ในครัวเรือน ทดลองเปรียบเทียบความสามารถในการฆ่าเชื้อราที่เกิดขึ้นภายในขวดทดลองและนำความรู้ที่ได้มาบูรณาการกับเทคโนโลยีที่มีในปัจจุบันในรูปแบบการนำเสนอบนเว็บไซต์
คณะผู้จัดทำจึงมีความสนใจที่จะศึกษาการเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออย่างง่าย เปรียบเทียบการจัดเตรียมอาหารพืช ตอนนำขวดเพาะเลี้ยงที่มีอาหารอยู่ไปนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อ ซึ่งได้แบ่งการทดลองไป 2 วิธีการคือ ทดลองกับหม้อนึ่งความดันไอ และทดลองกับหม้อนึ่งธรรมดาที่ใช้ในครัวเรือน  และได้นำผลการดำเนินงาน รวมทั้งข้อสรุปในการทำโครงงานนำเสนอโดยใช้เทคนิควิธีการผ่านทางเว็บไซต์ในรูปแบบของบล็อก                                         

5.             หลักการ ทฤษฏีและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
5.1  Social  Medial
       Social Media  หมายถึงสังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้เป็นผู้สื่อสาร หรือเขียนเล่า เนื้อหา เรื่องราว ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวิดีโอ ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง ทำขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่ออื่นๆ แล้วนำมาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตน ผ่านทางเว็บไซต์ Social Network ที่ให้บริการบนโลกออนไลน์ ปัจจุบัน การสื่อสารแบบนี้ จะทำผ่านทาง Internet และโทรศัพท์มือถือ
                5.1.1  ภาษา HTML
      HTML หรือ HyperText Markup Language เป็นภาษาคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ที่มีโครงสร้างการเขียนโดยอาศัยตัวกำกับ (Tag) ควบคุมการแสดงผลข้อความ, รูปภาพ หรือวัตถุอื่นๆ ผ่านโปรแกรมเบราเซอร์ แต่ละ Tag อาจจะมีส่วนขยายที่เรียกว่า Attribute สำหรับระบุ หรือควบคุมการแสดงผล ของเว็บได้ด้วยHTML เป็นภาษาที่ถูกพัฒนาโดย World Wide Web Consortium (W3C) จากแม่แบบของภาษา SGML (Standard Generalized Markup Language) โดยตัดความสามารถบางส่วนออกไป เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจและเรียนรู้ได้ง่าย และด้วยประเด็นดังกล่าว ทำให้บริการ WWW เติบโตขยายตัวอย่างกว้างขวางตามไปด้วย Tag
                5.1.2  WWW (World Wide Web) คือ เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก มักเรียกย่อๆกันว่า เว็บ และเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายข่าวสาร ใช้ในการค้นหาข้อมูลข่าวสารบน Internet จากแหล่งข้อมูลหนึ่ง ไปยังแหล่ง ข้อมูลที่อยู่ห่างไกล ให้มีความง่ายต่อการใช้งานมากที่สุด   WWW จะแสดงผลอยู่ในรูปแบบของเอกสารที่เรียกว่า ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hyper Text) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่รวบรวมข่าวสารข้อมูลที่อยู่กระจัดกระจายในที่ต่าง ๆ ทั่วโลกให้สามารถนำมาใช้งานได้เสมือนอยู่ในที่เดียวกัน  โดยใช้เว็บเบราเซอร์ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยในการดู หรืออ่านข้อมูลเหล่านั้น
                5.1.3  ชื่อโดเมน หรือ โดเมนเนม (Domain name)
       โดเมนเนม ความหมายโดยทั่วๆ ไป หมายถึง ชื่อเว็บไซต์ ชื่อบล็อก ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้จดจำและนำไปใช้งานได้ง่ายทั้งในการเข้าชมผ่านบราวเซอร์ของผู้ใช้ทั่วไป ยังรวมไปถึงผู้ดูแลระบบโดเมนเนมซีสเทม ที่สามารถแก้ไขไอพีแอดเดรสของชื่อโดเมนเนมนั้นๆ ได้ทันทีโดยที่ผู้ใช้ทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสที่มีการเปลี่ยนแปลง
                5.1.4  บล็อก (Blog)
       บล็อก (blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก ( weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"
5.2 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
       การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หมายถึง การนำเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะเนื้อเยื่อเซลล์ หรือเซลล์ไม่มีผนัง มาเลี้ยงในอาหารเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อจุลิทรีย์ และอยู่ในสภาพควบคุมอุณหภูมิ แสงและความชื้นเพื่อให้เซลล์พืชที่นำมาเพาะเลี้ยงนั้น ปราศจากเชื้อที่มารบกวนและทำลายการเจริญเติบโตของพืช
5.3  อุปกรณ์ที่ใช้ในหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
               5.3.1  หม้อนึ่งความดันไอ
       หม้อนึ่งความดัน Autoclave หรือ Sterilizer มีชื่อภาษาไทยที่เรียกแตกต่างกันออกไปหลายแบบ เช่น หม้อนึ่งฆ่าเชื้อ หม้อนึ่งอัดความดัน หม้อนึ่งความดัน หม้อสเตอริไรส์ เป็นต้น หลักการคือการใช้ความร้อนต้มน้ำให้กลายเป็นใอในหม้อที่ปิดสนิทจนทำให้ความดันในหม้อเพิ่มขึ้น เมื่อความดันเพิ่มขึ้น อุณหภมิของใอน้ำก็จะเพิ่มขึ้นจากปกติด้วย โดยทั่วไปจะต้มให้น้ำเดือดจนกระทั่งความดันของใอน้ำภายในหม้ออยู่ที่ 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (PSI) และมีอุณหภมิ 121 องศาเซลเชียส จึงเริ่มจับเวลา ระหว่างนี้ ต้องคอยควบคุมอุณหภูมิและความดันให้อยู่คงที่เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที เชื้อจุลินทรีย์ รวมถึงสปอร์ของจุลินทรีย์จึงจะตายหมด
                5.3.2  หม้อนึ่งอลูมิเนียม (ซึง)

5.4  ตัวแปรในการวัดประสิทธิภาพของการทดลอง
5.4.1 เห็ดรา
       เห็ดรา ( Fungus,Fungi) คือสิ่งมีชีวิตกลุ่มหนึ่ง เดิมเคยจัดอยู่อาณาจักรเดียวกับพืช แต่ปัจจุบันจัดอยู่ใน อาณาจักรเห็ดราหรือฟังไจ (Kingdom Fungi) เป็นเซลล์ยูแคริโอต (eukaryote) พบได้ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เส้นใย และ ดอกเห็ด ไม่มีคลอโรฟิลล์ ได้รับสารอาหารจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ โดยปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยสลายสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่และซับซ้อนจนเป็นโมเลกุลเล็กและดูดซึมเข้าเซลล์ (saprophyte)ได้แก่ สิ่งมีชีวิตประเภทเห็ด รา และยีสต์

6.             วัตถุประสงค์ของโครงงาน
6.1.     เพื่อจัดทำเว็บบล็อกเกี่ยวกับการเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่าย                                     
7.             ขอบเขตของโครงงาน
7.1   ในการทำบล็อกจะมีหน้าหลักซึ่งประกอบด้วย เนื้อหาโครงงานทั้งหมด ภาคผนวก รูปภาพ วิดีโอ และสื่อ               ต่างๆ และรวมไปด้วยประวัติของผู้จัดทำ                                                                                                                
7.2      ในการทำบล็อกจะมีหน้าต่าง เช่นมีหน้าต่างซึ่งสามารถเชื่อมต่อไปเว็บไซต์อื่นๆ เช่น เว็บโรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ และส่งต่อไปยังเว็บข่าวสารต่างๆ
7.3       ในการทำบล็อกจะมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา เพราะจะทำให้บล็อกน่าสนใจและมีผู้คนเข้าชมอย่างมาก และได้รับความรู้จากบล็อกมากที่สุด                                                                                                      
8.             เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา
8.1       โปรแกรมโฟโต้ชอป (Photoshop)  ใช้ในการแต่งรูปภาพ                                                                      
8.2       โปรแกรมเวิร์ด(Microsoft Word)  .ใช้ในการพิมพ์เอกสาร                                                                                   
8.3       โปรแกรมมายเจ็ค(Mindjet Mindmanager)
8.4       โปรแกรม Google Chrome                                                                                                                            
9.             ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน

การดำเนินการ
วันที่/ระยะเวลาที่ดำเนินการ
ผู้รับผิดชอบ
กำหนดหัวข้อโครงงาน
26  พฤศจิกายน 2555 – 29 พฤศจิกายน 2555
ปาริชาติ
เสนอโครงร่างโครงงาน
1 ธันวาคม 2555 - 3  ธันวาคม 2555
กฤษลดา
ลงพื้นที่รวบรวมข้อมูล
4 ธันวาคม 2555 – 10 มกราคม 25556
กฤษลดา
วิเคราะห์ข้อมูล
11มกราคม 2556 – 17 มกราคม 2556
ปาริชาติ
ออกแบบเว็บไซต์
18 มกราคม 2556 – 29 มกราคม 2556
ปรัศนีย์
พัฒนาเว็บไซต์
1 มกราคม 2556 – 7 กุมภาพันธ์ 2556
 ปรัศนีย์
ทดสอบและแก้ไขระบบ
กุมภาพันธ์ 2556 – 25 กุมภาพันธ์ 2556
ปาริชาติ
นำเสนอโครงงาน
28  กุมภาพันธ์ 2556 -
ปรัศนีย์
ประเมินผลโครงงาน
7  กุมภาพันธ์ 2556
ปาริชาติ


10.      ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ      
10.1 ได้พัฒนารูปแบบการนำเสนอข้อมูลในการจัดทำโครงงาน                                                                     
10.2  สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึก และการปฏิบัติ ในการทำโครงงานได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น                     
10.3 ได้นำความรู้มาพัฒนาบล็อกโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้บล็อกที่น่าสนใจและสามารถดึงดูดผู้เข้าชมได้มากที่สุด                                                                                                                                                
10.4 เพื่อให้ผู้ที่เข้าชมบล็อกของคณะผู้จัดทำได้รับประโยชน์สูงสุด และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้