วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

การเพาะเลี้ยงเนื่อเยื่อ( ตอนที่ 1)

 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (ตอนที่ 1)

 โครงการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ฝ่ายวิชาการ
สถาบันการแพทย์แผนไทย
 

      ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีด้านการเกษตรได้ก้าวหน้าไปอย่างมาก เป็นที่รู้จักกันมากในขณะนี้คือ การตัดต่อยีนต์ เพื่อให้สายพันธ์พืชสายใหม่ที่ทนต่อโรค แมลง และให้ผลผลิตสูง หรือรู้จักกันในนามพืช GMO ที่กำลังเป็นปัญหาถกเถียงกันในขณะนี้ว่าพืชบางอย่างได้ตัดต่อยีนต์แล้วบางตัวมีผลทำให้แมลงต่าง ๆ ตาย ซึ่งแมลงบางตัวเป็นแมลงทีมีประโยชน์ อาจส่งผลให้สภาพความสมดุลทางธรรมชาติสูญเสียไปด้วย การเพาะพันธุ์ต้นไม้ในสภาพที่ปลิดเชื้อหรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (Tissue Culture) เป็นอีกวิธีหนึ่งของเทคโนโลยีด้านการเกษตรชนิดอื่นที่นอกเหนือจากพืชสวน พืชไร่ ไม้ดอก เช่นการเพาะเลี้ยงเยื่อสมุนไพร เพราะวิธีการนี้สามารถขยายพันธุ์ได้เร็วและจำนวนมาก แต่มีข้อเสียอยู่คือต้นทุนในการจัดตั้งห้องปฏิบัติการค่อนข้างสูง และขั้นตอนในการปฏิบัติการขยายพันธุ์ค่อนข้างยาก ถ้าเทียบกับการขยายพันธุ์ไม้ดอก กล้วยไม้ หรือไม้ประดับ เพราะว่าสมุนไพรในแต่ละชนิดจะมียาง ซึ่งในยางนั้นจะมีตัวยาแตกต่างกันไป และตัวยาในยางของสมุนไพรนี่เองที่มักจะทำปฏิกริยากับธาตุอาหารสังเคราะห์ที่ใช้เลี้ยงต้นพืชสมุนไพร บางครั้งอาจทำให้พืชนั้นไม่เจริญเติบโต ไม่แตกกอ ไม่ดูดสารอาหาร และจะทำให้พืชนั้นตายในที่สุด แต่ถ้าหากทดลองสูตรอาหารได้สูตรที่เหมาะสมกับพืชนั้นๆ ก็จะเจริญเติบโตได้ดี
     การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช คือ การนำส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชไม่ว่าจะเป็นส่วนเนื้อเยื่อ อวัยวะต่าง ๆ ของพืช หรือเซลล์ มาเลี้ยงในสภาพที่ปลอดเชื่อจุลินทรีย์ โดยมีการควบคุมสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ แสง ความชื้น ส่วนต่างๆ ของพืชเหล่านี้จะสามารถเจริญเติบโตพัฒนาเป็นต้นใหม่ โดยที่พืชทุกต้นจะมีลักษณะเหมือนกัน ด้วยเหตุนี้การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชจึงมีประโยชน์อย่างกว้างขวางในหลายสาขา เช่น ทางด้านการเกษตรทำให้สามารถขยายพันธุ์ได้จำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว หรือสามารถผลิตต้นพันธุ์ที่ปลอดเชื้อได้จำนวนมาก และยังสามารถสร้างพันธุ์ใหม่ ๆ ได้โดยการเพาะเลี้ยงคัพภะ (Embryo) อับละอองเกสร (Anther Culture) นอกจากนี้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชยังมีความสำคัญ สำหรับการเก็บรักษาพันธุ์พืชในสภาพปลอดเชื้อได้ดี


     การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญหลัก 6 ขั้นตอน คือ
     1. การคัดเลือกเนื้อเยื่อพืช
     2. การฟอกฆ่าเชื้อ
     3. การเตรียมอาหารสำคัญเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
     4. การขยายพันธุ์เพิ่มจำนวน
     5. การชักนำรากพืช
     6. การย้ายออกปลูก
     การที่จะทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชให้ได้ผลนั้น ขั้นแรกต้องฆ่าเชื้อห้องปฏิบัติการ เพราะการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชนี้เป็นการเลี้ยงในสภาพที่ปลอดเชื้อ ห้องปฏิบัติการและเครื่องมือทุกอย่างต้องปลอดเชื้อจุลินทรีย์ เพราะจุลินทรีย์เป็นศัตรูตัวฉกาจที่จะทำให้การทำงานของเรามีปัญหาที่สุด และนอกจากฆ่าเชื้อห้องและอุปกรณ์แล้วชิ้นส่วนพืชที่จะนำมาขยายพันธุ์ต้องทำการฆ่าเชื้อด้วย เรียกว่า วิธีฟอกฆ่าเชื้อ ขั้นตอนในการทำก็คือ
     1. เลือกชิ้นส่วนพืชที่อยู่ในช่วงเจริญเติบโต เช่น ยอดอ่อน เมล็ด ตาข้าง ปลายราก แล้วแต่ชนิดของพืชนั้น ๆ
     2. นำชิ้นส่วนนั้นมาตัดเป็นเป็นท่อนให้ส่วนข้อที่จะออกรากควรอยู่ตรงกลาง หรือถ้าเป็นเมล็ดควรทำความสะอาดแต่ถ้าเมล็ดนั้นแข็งควรนำไปแช่น้ำอุ่นสัก 1 คืน
     3. เตรียมน้ำปริมาณขวดละ 90 ml นำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 121  ํC เป็นเวลา 15 นาที
     4. เมื่อได้น้ำที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ตวง Chlorox ปริมาณ 10-15 ml  หยด Tween ประมาณ 2-3 หยด ถ้าเป็นพืชที่ค่อนข้างสกปรกใส่ยาฆ่าเชื้อ (Anti biotic) ด้วย
     5. นำชิ้นส่วนที่ล้างสะอาดแล้ว ใส่ลงไปในขวด แล้วเขย่าประมาณ 15 นาที
     6. หลังจากเขย่าครบ 10-15 นาทีแล้ว ล้างด้วยน้ำกลั่น 3 ครั้ง ครั้งละ 15 นาที แต่ควรทำภายใต้สภาพปลอดเชื้อ
     7. หลังจากทำการฟอกฆ่าเชื้อแล้ว นำชิ้นส่วนลงปลูกในขวดอาหารที่เตรียมไว้
     วิธีการเลือกชิ้นส่วนเนื้อเยื่อที่จะนำมาฟอกฆ่าเชื้อ
     1. พืชที่เป็นเมล็ดควรเลือกเมล็ดที่มีความสมบูรณ์ที่สุด เมล็ดอ่อนหรือแก่ก็ได้
     2. พืชที่ใช้ใบขยายพันธุ์ เช่น แอฟริกันไวโอเลต กลอกซีเนีย หรือกุกลายหิน ควรเลือกใบเพิ่งแตกใหม่ เพราะการปนเปื้อนน้อยและเยื่อกำลังเจริญ
     3. พืชที่ใช้ยอดขยายพันธุ์ ควรเลือกยอดที่เพิ่งจะแตกตาใหม่ เพราะเป็นช่วงที่พืชพร้อมจะเจริญเป็นต้น
     4. พืชที่เป็นหัว เป็นเหง้าหรือแง่ง เช่น กล่วย ขิง ดาหลา ควรเลือกที่มีตาสมบูรณ์ ถ้าเป็นกล้วยควรเลือกหน่อที่มีใบแคบหรือหน่อที่กำลังงอก
     5. พืชที่ใช้คัพภะ ควรเลือกคัพภะที่แก่ ไม่ควรเลือกที่อ่อนเกินไปจะไม่งอก
ที่มา : http://ittm.dtam.moph.go.th/data_all/articles/article27.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น