วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556
ผลการทดลองโครงงานการเพาะเนื้อเยื่อพืชอย่างง่าย
เมื่อทดลองการเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่าย โดยการทดลองกับหม้อนึ่งความดันไอและหม้อนึ่งธรรมดา ใช้อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สูตร MS (Murashige and
skoog, 1962) ในขวดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จำนวน 20 ขวดระยะเวลา
2 สัปดาห์ พบว่ามีให้ผลการเกิดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์
ที่ออกมาใกล้เคียงกันดังตารางที่ 1 และ 2 ตามลำดับ
ตารางที่ 1 ทดสอบเปรียบเทียบการเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่าย โดยทดลองกับหม้อนึ่งความดันไอและหม้อนึ่งธรรมดา
ในสัปดาห์แรก
จากตารางที่
1 พบว่า ทดสอบเปรียบเทียบการเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่าย โดยทดลองกับหม้อนึ่งความดันไอและหม้อนึ่งธรรมดา
ในสัปดาห์แรกนั้น ระยะเวลาในการอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สูตร MS (Murashige and
skoog, 1962)
การเกิดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ของหม้อนึ่งความดันไอจะเกิดเชื้อราในวันที่ 5
ของการทำการทดลองเป็นจำนวน 2 ขวดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และการเกิดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ของหม้อนึ่งธรรมดาจะเกิดเชื้อราในวันที่
3 ของการทำการทดลองเป็นจำนวน 1 ขวดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
ตารางที่ 2 ทดสอบเปรียบเทียบการเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่าย
โดยทดลองกับหม้อนึ่งความดันไอและหม้อนึ่งธรรมดา โดยใช้อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ในสัปดาห์ที่สอง
จากตารางที่ 2 พบว่า ทดสอบเปรียบเทียบการเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่าย โดยทดลองกับหม้อนึ่งความดันไอและหม้อนึ่งธรรมดา โดยใช้อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ในสัปดาห์ที่สองนั้น ระยะเวลาในการอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สูตร MS (Murashige and skoog, 1962) การเกิดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์จะเกิดขึ้นและเห็นความชัดเจนมากกว่าสัปดาห์แรกที่ทำการทดลองซึ่งในสัปดาห์ที่สองนั้นการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ของหม้อนึ่งความดันไอจะเกิดเชื้อราในวันที่ 9,10 และ 13 ตามลำดับ ของการทำการทดลองเป็นจำนวน 5 ขวดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชและการเกิดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ของหม้อนึ่งธรรมดาจะเกิดเชื้อราในวันที่ 10 และ 13 ของการทำการทดลองเป็นจำนวน 3 ขวดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
หมายเหตุ / การเกิดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์
- ไม่การเกิดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์
( - ) จำนวนการเกิดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ในขวดเพาะเลี้ยง
- ไม่การเกิดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์
( - ) จำนวนการเกิดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ในขวดเพาะเลี้ยง
วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556
การทดลองการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่าย
1.ชั่งสารเตรียม
Stock
2.ใช้ปิเปตดูดสารและเติมน้ำตาลทราย
3.ปรับปริมาตร
และปรับ
pH (5.6 -5.8)
4.เคี่ยวหลอมวุ้นให้ละลาย
5.เติมฮอร์โมนตามสูตร ms แล้วบรรจุอาหารลงในขวดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
6.นำขวดอาหารลงหม้อนึ่งความดันไอ
7.นึ่งฆ่าเชื้อที่ความดัน 15 ปอนด์/ตารางนิ้ว อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส
เป็นเวลา 15
นาที
วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
เทคโนโลยีชีวภาพ แหล่งรวมความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพ
การใช้ประโยชน์จาก การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (Applications of Plant Tissue Culture)
การใช้ประโยชน์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
- ทำให้สามารถเพิ่มจำนวนต้นพันธุ์พืชที่ต้องการในปริมาณอันมากในเวลาอันรวดเร็วได้
- ทำให้สามารถผลิตต้นพืชที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนต้นที่เป็นต้นแบบได้
- ทำให้สามารถผลิตต้นพืชจำนวนหลายๆต้นที่มีขนาดสม่ำเสมอกันได้
- ทำให้สามารถผลิตต้นพืชที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนต้นที่เป็นต้นแบบได้
- ทำให้สามารถผลิตต้นพืชจำนวนหลายๆต้นที่มีขนาดสม่ำเสมอกันได้
- ทำให้สามารถผลิตต้นพืชที่ปราศจากโรคได้
- ทำให้สามารถเก็บรักษาพันธุ์พืชพื้นเมืองที่มีอยู่เดิม พันธุ์พืชหายาก พันธุ์พืชที่ใกล้สูญพันธุ์ พันธุ์พืชที่มีลักษณะที่ดี พันธุ์พืชที่มีลักษณะที่ต้องการ หรือพันธุ์พืชที่แลกเปลี่ยนระหว่างประเทศได้
- ทำให้สามารถใช้ปรับปรุงพันธุ์พืชได้
- ทำให้สามารถผลิตยาหรือสารเคมีที่ได้จากพืชได้
- สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการสกัดสารจากต้นพืชเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้
- ทำให้สามารถผลิตพันธุ์พืชที่มีความต้านทานหรือทนทานได้ เช่น พันธุ์พืชที่ทนต่อดินเค็ม หรือ ดินเปรี้ยว, พันธุ์พืชที่ทนต่อสภาพอากาศร้อนหรือหนาว, พันธุ์พืชที่ทนต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืช, พันธุ์พืชที่ทนต่อโรคต่างๆและสารพิษต่างๆที่เกิดจากพวก เชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส
- ทำให้สามารถผลิตโปรโตพลาสหรือโพรโทพลาส(protoplasts)ได้
- ทำให้สามารถผลิตพืชที่มีโครโมโซม(chromosome)หลายชุด(polyploids)ได้
- ทำให้สามารถเก็บรักษาพันธุ์พืชพื้นเมืองที่มีอยู่เดิม พันธุ์พืชหายาก พันธุ์พืชที่ใกล้สูญพันธุ์ พันธุ์พืชที่มีลักษณะที่ดี พันธุ์พืชที่มีลักษณะที่ต้องการ หรือพันธุ์พืชที่แลกเปลี่ยนระหว่างประเทศได้
- ทำให้สามารถใช้ปรับปรุงพันธุ์พืชได้
- ทำให้สามารถผลิตยาหรือสารเคมีที่ได้จากพืชได้
- สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการสกัดสารจากต้นพืชเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้
- ทำให้สามารถผลิตพันธุ์พืชที่มีความต้านทานหรือทนทานได้ เช่น พันธุ์พืชที่ทนต่อดินเค็ม หรือ ดินเปรี้ยว, พันธุ์พืชที่ทนต่อสภาพอากาศร้อนหรือหนาว, พันธุ์พืชที่ทนต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืช, พันธุ์พืชที่ทนต่อโรคต่างๆและสารพิษต่างๆที่เกิดจากพวก เชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส
- ทำให้สามารถผลิตโปรโตพลาสหรือโพรโทพลาส(protoplasts)ได้
- ทำให้สามารถผลิตพืชที่มีโครโมโซม(chromosome)หลายชุด(polyploids)ได้
การเพราะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556
เทคนิคการเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
การเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช คือการนำเอาส่วนใดของพืช ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะ (Organ) เนื้อเยื่อ (tissue) เซลล์ (cell) หรือเซลล์ที่ไม่มีผนังเซลล์ที่เรียกว่าโพรโตพลาสต์ (protoplast) ของพืช มาเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ (synthetic media) ซึ่งประกอบด้วยเกลือ แร่ธาตุ น้ำตาล วิตามิน และฮอร์โมนพืชในสภาพปลอดเชื้อ (aseptic condition) จากเชื้อราและแบคทีเรีย และในสภาพแวดล้อมที่ควบคุม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และแสงสว่าง
ชิ้นส่วนของพืชที่เพาะเลี้ยงจะเจริญได้ 3 รูปแบบ แล้วแต่ว่าจะนำชิ้นส่วนนั้นมาจากไหน
1. เจริญเป็นต้นที่มีรากหรือบางทีก็มีดอก เรียกว่าเกิด organogenesis
2. เจริญเป็นแคลลัส (callus) ซึ่งเป็นกลุ่มของเซลล์ ส่วนใหญ่จะเป็น parenchyma cell ที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปเป็นต้นหรือรากแต่ก็สามารถเป็นต้นได้
3. เจริญไปเป็น embryoid ซึ่งมีลักษณะเหมือน embryo ที่ได้จาก zygote แต่ embryoid ได้มาจาก somatic cell จะเจริญเติบโตเป็นต้นที่มีรากต่อไป
ชิ้นส่วนของพืชที่เพาะเลี้ยงจะเจริญได้ 3 รูปแบบ แล้วแต่ว่าจะนำชิ้นส่วนนั้นมาจากไหน
1. เจริญเป็นต้นที่มีรากหรือบางทีก็มีดอก เรียกว่าเกิด organogenesis
2. เจริญเป็นแคลลัส (callus) ซึ่งเป็นกลุ่มของเซลล์ ส่วนใหญ่จะเป็น parenchyma cell ที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปเป็นต้นหรือรากแต่ก็สามารถเป็นต้นได้
3. เจริญไปเป็น embryoid ซึ่งมีลักษณะเหมือน embryo ที่ได้จาก zygote แต่ embryoid ได้มาจาก somatic cell จะเจริญเติบโตเป็นต้นที่มีรากต่อไป
เทคนิคการเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช มี 5 ขั้นตอน

1. การเตรียมอาหารสำหรับเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช2. การฟอกฆ่าเชื้อเนื้อเยื่อพืช3. การนำชิ้นส่วนเนื้อเยื่อพืชลงขวด4. การนำขวดเนื้อเยื่อพืชไปเลี้ยง
5. การย้ายเอาพืชออกจากขวดปลูกลงดิน
1. การเตรียมอาหารสำหรับเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช2. การฟอกฆ่าเชื้อเนื้อเยื่อพืช3. การนำชิ้นส่วนเนื้อเยื่อพืชลงขวด4. การนำขวดเนื้อเยื่อพืชไปเลี้ยง
5. การย้ายเอาพืชออกจากขวดปลูกลงดิน
1. การเตรียมอาหารสำหรับเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
อาหารที่ใช้เลี้ยงเนื้อเยื่อ ต้องสะอาดและมีแร่ธาตุอาหารครบตามที่พืชชนิดนั้นต้องการและเหมาะสม อาหารสูตร MS เป็นสูตรอาหารที่มีผู้ใช้กันมาก และพบว่าในสารอาหารทั้งธาตุอนินทรีย์หลัก เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม (NPK) และธาตุอาหารรองอื่น ๆ รวมทั้งสารประกอบของกรดอะมิโน วิตามิน ฮอร์โมน และน้ำตาลต้องอยู่ในสภาพปลอดเชื้อ
อาหารที่ใช้เลี้ยงเนื้อเยื่อ ต้องสะอาดและมีแร่ธาตุอาหารครบตามที่พืชชนิดนั้นต้องการและเหมาะสม อาหารสูตร MS เป็นสูตรอาหารที่มีผู้ใช้กันมาก และพบว่าในสารอาหารทั้งธาตุอนินทรีย์หลัก เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม (NPK) และธาตุอาหารรองอื่น ๆ รวมทั้งสารประกอบของกรดอะมิโน วิตามิน ฮอร์โมน และน้ำตาลต้องอยู่ในสภาพปลอดเชื้อ
การเตรียมอาหารเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสูตร MS (Murashige and Skoog)
อุปกรณ์
1. เครื่องชั่งไฟฟ้าอย่างละเอียด
2. เครื่องวัดความเป็นกรด – ด่าง (pH meter)
3. หม้อนึ่งอัดไอ (autoclave)
4. เตาไฟฟ้า (hot plate)
5. ปิเปตขนาดต่าง ๆ
6. บีกเกอร์
7. กระบอกตวง
8. ขวดรูปชมพู่
9. หลอดหยด
10. กรวยแก้ว
11. ขวดใส่ stock solution และอาหาร
12. อะลูมิเนียมฟอยด์ หรือจุกยางหรือสำลี
สารเคมี
1. สารเคมีในสูตรของอาหารใน Stock ต่าง ๆ
2. สารเคมีสำหรับปรับค่า ph ของอาหารคือ Potassium hydroxide (KOH) หรือ Sodium hydroxide (NaOH) และ Hydrochloric acid (HCI)
3. น้ำกลั่น
วิธีทำ
ก. ทำการเตรียม stock solution ต่าง ๆ ตามสูตรของ Murashige and Skoog โดยเตรียมอัตราส่วนดังนี้
1. ธาตุอาหารทางอนินทรีย์ (inorganic salt) เตรียมสารละลายเข้มข้น 100 เท่า ของความเข้มข้นในอาหาร
1.1 Stock 1
NH4NO3 165 g
KNO3 190 g
ผสมแล้วเติมน้ำกลั่นให้ครบ 1,000 ml
1.2 Stock 2
MgSO4.7H2O 37 g
MnSO4.H2O 1,690 g
ZnSO4.7H2O 0.860 g
CuSO4.5H2O 0.0025 g
ผสมแล้วเติมน้ำกลั่นให้ครบ 1,000 ml
1.3 Stock 3
CaCl2.2H2O 44 g
Kl 0.083 g
CaCl2.6H2O 0.0025 g
ผสมแล้วเติมน้ำกลั่นให้ครบ 1,000 ml
1.4 Stock 4
KH2PO4 17 g
H3BO3 0.620 g
Na2MOO4.2H2O 0.025 g
ผสมแล้วเติมน้ำกลั่นให้ครบ 1,000 ml
1.5 Stock 5
FeSO4.7 H2O 2.784 g
Na2EDTA 3.724 g
ผสมแล้วเติมน้ำกลั่นให้ครบ 1,000 ml
2. สารประกอบของสารอินทรีย์ (organic compounds)
2.1 Stock 6 ความเข้มข้น 200 เท่าของความเข้มข้นในอาหาร
Inositol 2.0 g
Nicotinic acid 0.01 g
Pyridoxine HCI 0.01 g
Thiamin HCI 0.002 g
glycine 0.04 g
ผสมรวมกันแล้วเติมน้ำกลั่นให้ครบ 1,000 ml
2.2 สารประกอบกระตุ้นฮอร์โมน (hormonal substanus) ความเข้มข้น 100 ppm.
* ฮอร์โมนเร่งราก stock NAA
(naptthalene acetic acid) 0.01 g
นำมาผสมน้ำให้ครบ 100 ml
* ฮอร์โมนเร่งยอด stock BA
(6 – Benzyladenine) 0.01 g
นำมาผสมน้ำให้ครบ 100 ml
ข. ทำการตวงสารละลายที่เตรียมในข้อ ก. ด้วยปิเปตในอัตราของการเตรียมอาหาร 100 ml
Stock 1 1 ml
Stock 2 1 ml
Stock 3 1 ml
Stock 4 1 ml
Stock 5 1 ml
Stock 6 0.5 ml
ชั่งน้ำตาล sucrose 3 g
ฮอร์โมนเร่งราก stock NAA 1 ml
ฮอร์โมนเร่งยอด stock BA 1 ml
นำทั้งหมดมารวมกันแล้วเติมน้ำกลั่นให้ครบ 50 ml (ควรปรับค่า pH ให้เท่ากับ 5.6 โดยใช้ KOH และ HCI ในการปรับค่า pH) จากนั้นเติมน้ำกลั่นให้ครบ 100 ml ถ้าหากทำเป็นอาหารแข็งให้เติมวุ้น (agar) ลงไปในปริมาณ 0.8 g โดยหลอมให้ละลายก่อน
ค. จากนั้นเทใส่ขวดอาหารปริมาณ 1 ใน 5 ของขวดอาหาร หรือ 1 ใน 4 ของขวดอาหาร ปิดฝาขวด แล้วนำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ความดัน 15 ปอนด์/ตารางนิ้ว เวลานาน 15 นาที ทิ้งไว้จนอุ่นแล้วจึงปิดฝาให้สนิท ทิ้งให้เย็น เก็บเข้าชั้นเพื่อใช้ต่อไป
*สูตรอาหารดัดแปลง Vacin & Went เหมาะสำหรับการเลี้ยงเนื้อเยื่อของกล้วยไม้โดยเฉพาะ ถ้าจะให้สะดวกควรเตรียม Stock Solution ดังนี้
Stock Solution A (100 X)
potassium nitrate 50.5 g
monopotassium acid phosphate 20.5 g
ammonium sulphate 50.0 g
manganese sulphate 0.68 g
ผสมแล้วเติมน้ำกลั่นให้ครบ 1,000 ml
Stock Solution B (100 X)
magnesium sulphate 25.0 g
เติมน้ำกลั่นให้ครบ 1,000 ml
Stock Solution C (200 X)
sodium EDTA 7.45 g
ferrous sulphate 5.75 g
ผสมแล้วเติมน้ำกลั่นให้ครบ 1,000 ml
มีวิธีการเตรียมเป็นขั้นตอนดังนี้
1. ใช้ Stock Solution A 10 ml
Stock Solution B 10 ml
Stock Solution C 5 ml
2. ใส่ Tricalcium phosphate 0.20 g ที่ละลาย ด้วยกรดเกลือความเข้มข้น 1 normal แล้ว
3. เติมน้ำมะพร้าว 150 ml
4. เติมน้ำตาล 20 g
5. เติมน้ำให้ครบ 1,000 ml
6. ปรับ pH ให้ได้ 4.8 – 5
7. เติมวุ้น 8 g (ถ้าต้องการอาหารเหลวก็ไม่ต้องเติมวุ้น)
8. ต้มวุ้นจนละลายหมด
9. เทลงในขวดแก้วปิดจุก
10. นึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งอัดไอที่อุณหภูมิ 121°C นาน 15 นาที
11. ทิ้งไว้ให้เย็นจนวุ้นแข็งจึงนำไปใช้เลี้ยงเนื้อเยื่อได้
อุปกรณ์
1. เครื่องชั่งไฟฟ้าอย่างละเอียด
2. เครื่องวัดความเป็นกรด – ด่าง (pH meter)
3. หม้อนึ่งอัดไอ (autoclave)
4. เตาไฟฟ้า (hot plate)
5. ปิเปตขนาดต่าง ๆ
6. บีกเกอร์
7. กระบอกตวง
8. ขวดรูปชมพู่
9. หลอดหยด
10. กรวยแก้ว
11. ขวดใส่ stock solution และอาหาร
12. อะลูมิเนียมฟอยด์ หรือจุกยางหรือสำลี
สารเคมี
1. สารเคมีในสูตรของอาหารใน Stock ต่าง ๆ
2. สารเคมีสำหรับปรับค่า ph ของอาหารคือ Potassium hydroxide (KOH) หรือ Sodium hydroxide (NaOH) และ Hydrochloric acid (HCI)
3. น้ำกลั่น
วิธีทำ
ก. ทำการเตรียม stock solution ต่าง ๆ ตามสูตรของ Murashige and Skoog โดยเตรียมอัตราส่วนดังนี้
1. ธาตุอาหารทางอนินทรีย์ (inorganic salt) เตรียมสารละลายเข้มข้น 100 เท่า ของความเข้มข้นในอาหาร
1.1 Stock 1
NH4NO3 165 g
KNO3 190 g
ผสมแล้วเติมน้ำกลั่นให้ครบ 1,000 ml
1.2 Stock 2
MgSO4.7H2O 37 g
MnSO4.H2O 1,690 g
ZnSO4.7H2O 0.860 g
CuSO4.5H2O 0.0025 g
ผสมแล้วเติมน้ำกลั่นให้ครบ 1,000 ml
1.3 Stock 3
CaCl2.2H2O 44 g
Kl 0.083 g
CaCl2.6H2O 0.0025 g
ผสมแล้วเติมน้ำกลั่นให้ครบ 1,000 ml
1.4 Stock 4
KH2PO4 17 g
H3BO3 0.620 g
Na2MOO4.2H2O 0.025 g
ผสมแล้วเติมน้ำกลั่นให้ครบ 1,000 ml
1.5 Stock 5
FeSO4.7 H2O 2.784 g
Na2EDTA 3.724 g
ผสมแล้วเติมน้ำกลั่นให้ครบ 1,000 ml
2. สารประกอบของสารอินทรีย์ (organic compounds)
2.1 Stock 6 ความเข้มข้น 200 เท่าของความเข้มข้นในอาหาร
Inositol 2.0 g
Nicotinic acid 0.01 g
Pyridoxine HCI 0.01 g
Thiamin HCI 0.002 g
glycine 0.04 g
ผสมรวมกันแล้วเติมน้ำกลั่นให้ครบ 1,000 ml
2.2 สารประกอบกระตุ้นฮอร์โมน (hormonal substanus) ความเข้มข้น 100 ppm.
* ฮอร์โมนเร่งราก stock NAA
(naptthalene acetic acid) 0.01 g
นำมาผสมน้ำให้ครบ 100 ml
* ฮอร์โมนเร่งยอด stock BA
(6 – Benzyladenine) 0.01 g
นำมาผสมน้ำให้ครบ 100 ml
ข. ทำการตวงสารละลายที่เตรียมในข้อ ก. ด้วยปิเปตในอัตราของการเตรียมอาหาร 100 ml
Stock 1 1 ml
Stock 2 1 ml
Stock 3 1 ml
Stock 4 1 ml
Stock 5 1 ml
Stock 6 0.5 ml
ชั่งน้ำตาล sucrose 3 g
ฮอร์โมนเร่งราก stock NAA 1 ml
ฮอร์โมนเร่งยอด stock BA 1 ml
นำทั้งหมดมารวมกันแล้วเติมน้ำกลั่นให้ครบ 50 ml (ควรปรับค่า pH ให้เท่ากับ 5.6 โดยใช้ KOH และ HCI ในการปรับค่า pH) จากนั้นเติมน้ำกลั่นให้ครบ 100 ml ถ้าหากทำเป็นอาหารแข็งให้เติมวุ้น (agar) ลงไปในปริมาณ 0.8 g โดยหลอมให้ละลายก่อน
ค. จากนั้นเทใส่ขวดอาหารปริมาณ 1 ใน 5 ของขวดอาหาร หรือ 1 ใน 4 ของขวดอาหาร ปิดฝาขวด แล้วนำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ความดัน 15 ปอนด์/ตารางนิ้ว เวลานาน 15 นาที ทิ้งไว้จนอุ่นแล้วจึงปิดฝาให้สนิท ทิ้งให้เย็น เก็บเข้าชั้นเพื่อใช้ต่อไป
*สูตรอาหารดัดแปลง Vacin & Went เหมาะสำหรับการเลี้ยงเนื้อเยื่อของกล้วยไม้โดยเฉพาะ ถ้าจะให้สะดวกควรเตรียม Stock Solution ดังนี้
Stock Solution A (100 X)
potassium nitrate 50.5 g
monopotassium acid phosphate 20.5 g
ammonium sulphate 50.0 g
manganese sulphate 0.68 g
ผสมแล้วเติมน้ำกลั่นให้ครบ 1,000 ml
Stock Solution B (100 X)
magnesium sulphate 25.0 g
เติมน้ำกลั่นให้ครบ 1,000 ml
Stock Solution C (200 X)
sodium EDTA 7.45 g
ferrous sulphate 5.75 g
ผสมแล้วเติมน้ำกลั่นให้ครบ 1,000 ml
มีวิธีการเตรียมเป็นขั้นตอนดังนี้
1. ใช้ Stock Solution A 10 ml
Stock Solution B 10 ml
Stock Solution C 5 ml
2. ใส่ Tricalcium phosphate 0.20 g ที่ละลาย ด้วยกรดเกลือความเข้มข้น 1 normal แล้ว
3. เติมน้ำมะพร้าว 150 ml
4. เติมน้ำตาล 20 g
5. เติมน้ำให้ครบ 1,000 ml
6. ปรับ pH ให้ได้ 4.8 – 5
7. เติมวุ้น 8 g (ถ้าต้องการอาหารเหลวก็ไม่ต้องเติมวุ้น)
8. ต้มวุ้นจนละลายหมด
9. เทลงในขวดแก้วปิดจุก
10. นึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งอัดไอที่อุณหภูมิ 121°C นาน 15 นาที
11. ทิ้งไว้ให้เย็นจนวุ้นแข็งจึงนำไปใช้เลี้ยงเนื้อเยื่อได้
2. การฟอกฆ่าเชื้อเนื้อเยื่อพืช

วิธีการฟอกฆ่าเชื้ออาจดัดแปลงจากวิธีการนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับชิ้นส่วนของพืชที่จะนำมาเลี้ยง แต่ส่วนใหญ่จะมีขั้นตอนดังนี้
1. ควรเลือกชิ้นส่วนของพืชที่จะนำมาเลี้ยงให้ปราศจากโรคและเป็นส่วนที่ยังอ่อนอยู่ ตายอดและข้อเป็นอวัยวะที่ดีที่สุด แต่ส่วนอื่น ๆ เช่น ใบ ดอก ราก ก็ใช้ได้ ที่สำคัญจะต้องไม่แก่หรืออ่อนเกินไป
2. ตัดเฉพาะชิ้นส่วนที่ต้องการนำมาล้างให้สะอาดด้วยผงซักฟอก
3. ชุบในเอทิลแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 1 – 2 นาที
4. แช่ต่อด้วยน้ำยาคลอร็อกซ์ 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 10 – 15 นาที
5. แช่ต่อด้วยน้ำยาคลอร็อกซ์ 5 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 10 นาที
6. นำไปล้างน้ำที่นึ่งฆ่าเชื้อโรคแล้ว ประมาณ 3 ครั้ง นำเข้าตู้ปลอดเชื้อ หรือตู้ถ่ายเนื้อเยื่อ เพื่อเตรียมตัดชิ้นส่วนเนื้อเยื่อพืชลงในอาหารเลี้ยงเนื้อเยื่อต่อไป
การเตรียมน้ำยาฟอกฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในเนื้อเยื่อพืช น้ำยาฟอกฆ่าเชื้อนี้จะทำการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้เฉพาะที่ติดอยู่ที่ผิวเท่านั้น เรียกว่าทำ Surface sterilization ส่วนเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ภายในเนื้อเยื่อพืช ทำให้เกิดโรคพืชนั้นยากแก่การฟอกฆ่าเชื้อ
1. เอทิลแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ เตรียมได้จากการใช้ เอทิลแอลกอฮอล์ 95 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 70 ml เติมน้ำ 25 ml
2. คลอร็อกซ์ 10 เปอร์เซ็นต์ ได้จากการใช้น้ำ 90 ml นึ่งในหม้อนึ่งอัดไอฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ไว้ก่อนแล้ว เมื่อจะใช้ก็เติมคลอร็อกซ์ 10 ml และสารลดแรงตึงผิว (wetting agent) เช่น Tween-20 1 – 2 หยด
3. คลอร็อกซ์ 5 เปอร์เซ็นต์ ได้จากการใช้น้ำ 95 ml นึ่งในหม้อนึ่งอัดไอฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ไว้ก่อนแล้ว เมื่อจะใช้ก็เติมคลอร็อกซ์ 5 ml และสารลดแรงตึงผิว 1 – 2 หยด
4. น้ำ 100 มิลลิลิตร นึ่งฆ่าเชื้อไว้สำหรับล้างเอาคลอร็อกซ์ออกจากชิ้นส่วนพืชก่อนนำไปเลี้ยงบนอาหาร
วิธีการฟอกฆ่าเชื้ออาจดัดแปลงจากวิธีการนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับชิ้นส่วนของพืชที่จะนำมาเลี้ยง แต่ส่วนใหญ่จะมีขั้นตอนดังนี้
1. ควรเลือกชิ้นส่วนของพืชที่จะนำมาเลี้ยงให้ปราศจากโรคและเป็นส่วนที่ยังอ่อนอยู่ ตายอดและข้อเป็นอวัยวะที่ดีที่สุด แต่ส่วนอื่น ๆ เช่น ใบ ดอก ราก ก็ใช้ได้ ที่สำคัญจะต้องไม่แก่หรืออ่อนเกินไป
2. ตัดเฉพาะชิ้นส่วนที่ต้องการนำมาล้างให้สะอาดด้วยผงซักฟอก
3. ชุบในเอทิลแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 1 – 2 นาที
4. แช่ต่อด้วยน้ำยาคลอร็อกซ์ 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 10 – 15 นาที
5. แช่ต่อด้วยน้ำยาคลอร็อกซ์ 5 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 10 นาที
6. นำไปล้างน้ำที่นึ่งฆ่าเชื้อโรคแล้ว ประมาณ 3 ครั้ง นำเข้าตู้ปลอดเชื้อ หรือตู้ถ่ายเนื้อเยื่อ เพื่อเตรียมตัดชิ้นส่วนเนื้อเยื่อพืชลงในอาหารเลี้ยงเนื้อเยื่อต่อไป
การเตรียมน้ำยาฟอกฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในเนื้อเยื่อพืช น้ำยาฟอกฆ่าเชื้อนี้จะทำการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้เฉพาะที่ติดอยู่ที่ผิวเท่านั้น เรียกว่าทำ Surface sterilization ส่วนเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ภายในเนื้อเยื่อพืช ทำให้เกิดโรคพืชนั้นยากแก่การฟอกฆ่าเชื้อ
1. เอทิลแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ เตรียมได้จากการใช้ เอทิลแอลกอฮอล์ 95 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 70 ml เติมน้ำ 25 ml
2. คลอร็อกซ์ 10 เปอร์เซ็นต์ ได้จากการใช้น้ำ 90 ml นึ่งในหม้อนึ่งอัดไอฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ไว้ก่อนแล้ว เมื่อจะใช้ก็เติมคลอร็อกซ์ 10 ml และสารลดแรงตึงผิว (wetting agent) เช่น Tween-20 1 – 2 หยด
3. คลอร็อกซ์ 5 เปอร์เซ็นต์ ได้จากการใช้น้ำ 95 ml นึ่งในหม้อนึ่งอัดไอฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ไว้ก่อนแล้ว เมื่อจะใช้ก็เติมคลอร็อกซ์ 5 ml และสารลดแรงตึงผิว 1 – 2 หยด
4. น้ำ 100 มิลลิลิตร นึ่งฆ่าเชื้อไว้สำหรับล้างเอาคลอร็อกซ์ออกจากชิ้นส่วนพืชก่อนนำไปเลี้ยงบนอาหาร
3. การนำชิ้นส่วนเนื้อเยื่อพืชลงขวด
ขั้นตอน 1. เตรียมทำความสะอาดตู้ถ่ายเนื้อเยื่อ โดยการใช้เอทิลแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ ฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณตู้ แล้วใช้ผ้าสะอาดที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้วเช็ดให้สะอาดทั่วบริเวณ ทิ้งไว้สัก 10 นาที ก่อนใช้งาน
2. เตรียมเช็ดขวดอาหารที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว วางเรียงในตู้ถ่ายเนื้อเยื่อ และชิ้นส่วนเนื้อเยื่อที่ฟอกฆ่าเชื้อแล้ว
3. ใช้ปากคีบ มีดผ่าตัดที่สะอาดโดยชุบเอทิลแอลกอฮอล์ 95 เปอร์เซ็นต์ ลนไฟ ทิ้งไว้ให้เย็น โดยวางบนจานแก้วที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว
4. ลนไฟบริเวณปากขวดอาหารเลี้ยงเนื้อเยื่อก่อนเปิดฝา
5. นำชิ้นส่วนเนื้อเยื่อวางบนจานแก้ว ตัดชิ้นส่วนให้เล็กพอเหมาะ แล้วคีบใส่ขวดอาหารเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยอาจจะวางหรือแทงลงไปบนอาหารเล็กน้อย ลนไฟบริเวณปากขวดอีกครั้ง แล้วรีบปิดฝาขวดทันที
ขั้นตอน 1. เตรียมทำความสะอาดตู้ถ่ายเนื้อเยื่อ โดยการใช้เอทิลแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ ฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณตู้ แล้วใช้ผ้าสะอาดที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้วเช็ดให้สะอาดทั่วบริเวณ ทิ้งไว้สัก 10 นาที ก่อนใช้งาน
2. เตรียมเช็ดขวดอาหารที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว วางเรียงในตู้ถ่ายเนื้อเยื่อ และชิ้นส่วนเนื้อเยื่อที่ฟอกฆ่าเชื้อแล้ว
3. ใช้ปากคีบ มีดผ่าตัดที่สะอาดโดยชุบเอทิลแอลกอฮอล์ 95 เปอร์เซ็นต์ ลนไฟ ทิ้งไว้ให้เย็น โดยวางบนจานแก้วที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว
4. ลนไฟบริเวณปากขวดอาหารเลี้ยงเนื้อเยื่อก่อนเปิดฝา
5. นำชิ้นส่วนเนื้อเยื่อวางบนจานแก้ว ตัดชิ้นส่วนให้เล็กพอเหมาะ แล้วคีบใส่ขวดอาหารเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยอาจจะวางหรือแทงลงไปบนอาหารเล็กน้อย ลนไฟบริเวณปากขวดอีกครั้ง แล้วรีบปิดฝาขวดทันที
4. การนำขวดเนื้อเยื่อพืชไปเลี้ยง

ขั้นตอน 1. นำขวดที่จะเลี้ยงเนื้อเยื่อไปวางบนชั้นในห้องเลี้ยงเนื้อเยื่ออุณหภูมิ 25 - 28°C ความเข้มของแสง 1,000 – 2,000 ลักซ์ (หลอดไฟ 40 วัตต์ จำนวน 2 หลอด) ช่วงแสง 16 ชั่วโมงต่อวัน และช่วงมืด 8 ชั่วโมงต่อวัน
2. ติดตามสังเกตการณ์เจริญเติบโตของชิ้นส่วนพืช ในระยะ 3 -7 วัน สังเกตว่าชิ้นส่วนนั้นมีเชื้อราหรือแบคทีเรียขึ้นหรือไม่ ถ้ามีให้รีบนำออกจากห้องไป ถ้าขวดไหนไม่มีก็เลี้ยงต่อไป สังเกตและเปลี่ยนอาหารใหม่ทุก 2 – 4 สัปดาห์ จนได้ต้นพืชที่สมบูรณ์
ขั้นตอน 1. นำขวดที่จะเลี้ยงเนื้อเยื่อไปวางบนชั้นในห้องเลี้ยงเนื้อเยื่ออุณหภูมิ 25 - 28°C ความเข้มของแสง 1,000 – 2,000 ลักซ์ (หลอดไฟ 40 วัตต์ จำนวน 2 หลอด) ช่วงแสง 16 ชั่วโมงต่อวัน และช่วงมืด 8 ชั่วโมงต่อวัน
2. ติดตามสังเกตการณ์เจริญเติบโตของชิ้นส่วนพืช ในระยะ 3 -7 วัน สังเกตว่าชิ้นส่วนนั้นมีเชื้อราหรือแบคทีเรียขึ้นหรือไม่ ถ้ามีให้รีบนำออกจากห้องไป ถ้าขวดไหนไม่มีก็เลี้ยงต่อไป สังเกตและเปลี่ยนอาหารใหม่ทุก 2 – 4 สัปดาห์ จนได้ต้นพืชที่สมบูรณ์
5. การย้ายเอาพืชออกจากขวดปลูกลงดิน 1. ใช้ปากคีบหรือลวดปลายงอ ค่อย ๆ ดึงเอาต้นพืชที่แข็งแรงที่มีรากที่สมบูรณ์ออกจากขวดระวังอย่าให้ต้นช้ำ
2. นำไปล้างเอาวุ้นออกให้หมดด้วยน้ำกลั่นหรือน้ำประปา
3. นำต้นพืชมาแช่ในยากันรา นำไปปลูกในถาดเพาะชำ หรือกระถางที่มีทรายผสมขุยมะพร้าวในอัตราส่วน 1 : 1 (เก็บไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงโดยตรง เพราะจะทำให้ต้นสูญเสียน้ำไป ทำให้ต้นเหี่ยว)
4. เมื่อต้นพืชตั้งตัวแข็งแรงดีแล้ว ก็ย้ายลงปลูกในดินต่อไปสำหรับต้นกล้วยไม้ นำไปปลูกในกระถางขนาดเล็ก ใส่ถ่านและออสมันด้า เมื่อต้นมีขนาดโตแล้ว ย้ายลงกระถางขนาดใหญ่
2. นำไปล้างเอาวุ้นออกให้หมดด้วยน้ำกลั่นหรือน้ำประปา
3. นำต้นพืชมาแช่ในยากันรา นำไปปลูกในถาดเพาะชำ หรือกระถางที่มีทรายผสมขุยมะพร้าวในอัตราส่วน 1 : 1 (เก็บไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงโดยตรง เพราะจะทำให้ต้นสูญเสียน้ำไป ทำให้ต้นเหี่ยว)
4. เมื่อต้นพืชตั้งตัวแข็งแรงดีแล้ว ก็ย้ายลงปลูกในดินต่อไปสำหรับต้นกล้วยไม้ นำไปปลูกในกระถางขนาดเล็ก ใส่ถ่านและออสมันด้า เมื่อต้นมีขนาดโตแล้ว ย้ายลงกระถางขนาดใหญ่
เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไม้ดอกไม้ประดับ
เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไม้ดอกไม้ประดับ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (ตอนที่ 2)
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (ตอนที่ 2)
| ||||||||||||||||||||||||||||||||
โครงการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ฝ่ายวิชาการ
สถาบันการแพทย์แผนไทย | ||||||||||||||||||||||||||||||||
การเตรียมอาหารเพื่อขยายพันธุ์และการเตรียม Stock Solution "อาหารเพื่อการขยายพันธุ์" คือ อาหารสังเคราะห์ที่เกิดจากการนำธาตุอาหารสังเคราะห์ต่างๆ มารวมกันปรับค่า pH ให้ได้ตามสูตรที่ต้องการ และเพิ่มความแข็งเพื่อการเกาะยึดด้วยวุ้น แล้วนำไปฆ่าเชื้อให้อาหารอยู่ในสภาพปลอดเชื้อ ส่วน Stock Solution คือการเตรียมสารเคมีตามสูตรในปริมาณที่เข้มข้น เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้
การเตรียม Stock Solution นี้ เมื่อเตรียมเสร้จแล้วควรใส่ขวดสีชาและเก็บไว้ในที่เย็นเพื่อยืดอายุการใช้งาน
การเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสูตร murashige and skoog.1926 (ms) 1. ตวงนำกลั่นใส่ภาชนะ 200 ทส 2. ตวง Stock solution 1-6 แต่ละตัวตามปริมาตรที่กำหนดใส่ภาชนะที่มีน้ำกลั่นอยู่ 3. เติมน้ำตาลซูโคส 30 g 4. ปรับปริมาตรด้วยน้ำกลั่นจนได้ปริมาตร 1,000 ml 5. ปรับต่อ PH ด้วย HCl 1 N หรือ NaOH 1 N ให้อยู่ในช่วง 5.6-5.8 6. ชั่งวุ้น 7 g นำไปเคี่ยวหลอมวุ้นจนเข้ากันดี 7. นำไปเทใส่ขวดขนาด 5 ออนซ์ 20 ml ขนาด 8 ออด์ 30 ml ปิดฝา 8. นำไปฆ่าเชื่อโดยใช้หม้อนึ่งความดันไอน้ำอุณหภูมิ 121 ํC เป็นเวลา 15 นาที (นับที่อุณหภูมิ 121 ํC ) ยกออกจากหม้อ ทิ้งไว้ให้เย็น ก่อนนำไปใช้ (ควรทิ้งไว้ 1 คืนก่อนนำไปใช้) เมื่อทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อขึ้นเป็นต้นกล้าสูงพอประมาณถึงคอขวด ให้ทำการเพิ่มปริมาณต้น วิธีการปฏิบัติ 1. คัดเลือกพืชในขวดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่สามารถนำมาเพิ่มปริมาณได้ 2. ทำการแบ่งเนื้อเยื่อในขวดภายใต้สภาพปลอดเชื้อ (ทำในตู้ถ่ายเนื้อเยื่อ) 3. การแบ่งเนื้อเยื่อมห้ตัดแต่งส่วนที่ไม่มีชีวิต ใบและรากบางส่วนทิ้งไป 4. ตัดแบ่งเนื้อเยื่อเป็นส่วน ๆ โดยต้นพืชในขวดที่มีการเพิ่มจำนวนด้วยการแตกหน่อ ให้ตัดแบ่งหน่อเป็นกอ ๆ ละ 2-3 ต้น 5. ต้นพืชที่มีการเจริญเป็นต้นเดี่ยว ให้ตัดแบ่งเป็นข้อ ๆ โดยแต่ละข้อให้มีตาติดอยู่ 6. นำเนื้อเยื่อที่ได้ตัดแบ่งไว้วางลงบนอาหารใหม่ นำไปวางบนชั้นเลี้ยงต่อไป เมื่อต้นโตได้ขนาดแล้ว ถ้าจะทำการเพิ่มปริมาณต้นให้ทำเหมือนเดิม แต่ถ้าจะนำไปปลูก ให้นำต้นพืชนั้นไปชักนำให้เกิดราก และย้ายออกปลูกในภายหลัง |
การเพาะเลี้ยงเนื่อเยื่อ( ตอนที่ 1)
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (ตอนที่ 1)
|
โครงการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ฝ่ายวิชาการ
สถาบันการแพทย์แผนไทย |
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช คือ การนำส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชไม่ว่าจะเป็นส่วนเนื้อเยื่อ อวัยวะต่าง ๆ ของพืช หรือเซลล์ มาเลี้ยงในสภาพที่ปลอดเชื่อจุลินทรีย์ โดยมีการควบคุมสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ แสง ความชื้น ส่วนต่างๆ ของพืชเหล่านี้จะสามารถเจริญเติบโตพัฒนาเป็นต้นใหม่ โดยที่พืชทุกต้นจะมีลักษณะเหมือนกัน ด้วยเหตุนี้การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชจึงมีประโยชน์อย่างกว้างขวางในหลายสาขา เช่น ทางด้านการเกษตรทำให้สามารถขยายพันธุ์ได้จำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว หรือสามารถผลิตต้นพันธุ์ที่ปลอดเชื้อได้จำนวนมาก และยังสามารถสร้างพันธุ์ใหม่ ๆ ได้โดยการเพาะเลี้ยงคัพภะ (Embryo) อับละอองเกสร (Anther Culture) นอกจากนี้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชยังมีความสำคัญ สำหรับการเก็บรักษาพันธุ์พืชในสภาพปลอดเชื้อได้ดี การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญหลัก 6 ขั้นตอน คือ 1. การคัดเลือกเนื้อเยื่อพืช 2. การฟอกฆ่าเชื้อ 3. การเตรียมอาหารสำคัญเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 4. การขยายพันธุ์เพิ่มจำนวน 5. การชักนำรากพืช 6. การย้ายออกปลูก การที่จะทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชให้ได้ผลนั้น ขั้นแรกต้องฆ่าเชื้อห้องปฏิบัติการ เพราะการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชนี้เป็นการเลี้ยงในสภาพที่ปลอดเชื้อ ห้องปฏิบัติการและเครื่องมือทุกอย่างต้องปลอดเชื้อจุลินทรีย์ เพราะจุลินทรีย์เป็นศัตรูตัวฉกาจที่จะทำให้การทำงานของเรามีปัญหาที่สุด และนอกจากฆ่าเชื้อห้องและอุปกรณ์แล้วชิ้นส่วนพืชที่จะนำมาขยายพันธุ์ต้องทำการฆ่าเชื้อด้วย เรียกว่า วิธีฟอกฆ่าเชื้อ ขั้นตอนในการทำก็คือ 1. เลือกชิ้นส่วนพืชที่อยู่ในช่วงเจริญเติบโต เช่น ยอดอ่อน เมล็ด ตาข้าง ปลายราก แล้วแต่ชนิดของพืชนั้น ๆ 2. นำชิ้นส่วนนั้นมาตัดเป็นเป็นท่อนให้ส่วนข้อที่จะออกรากควรอยู่ตรงกลาง หรือถ้าเป็นเมล็ดควรทำความสะอาดแต่ถ้าเมล็ดนั้นแข็งควรนำไปแช่น้ำอุ่นสัก 1 คืน 3. เตรียมน้ำปริมาณขวดละ 90 ml นำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 121 ํC เป็นเวลา 15 นาที 4. เมื่อได้น้ำที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ตวง Chlorox ปริมาณ 10-15 ml หยด Tween ประมาณ 2-3 หยด ถ้าเป็นพืชที่ค่อนข้างสกปรกใส่ยาฆ่าเชื้อ (Anti biotic) ด้วย 5. นำชิ้นส่วนที่ล้างสะอาดแล้ว ใส่ลงไปในขวด แล้วเขย่าประมาณ 15 นาที 6. หลังจากเขย่าครบ 10-15 นาทีแล้ว ล้างด้วยน้ำกลั่น 3 ครั้ง ครั้งละ 15 นาที แต่ควรทำภายใต้สภาพปลอดเชื้อ 7. หลังจากทำการฟอกฆ่าเชื้อแล้ว นำชิ้นส่วนลงปลูกในขวดอาหารที่เตรียมไว้ วิธีการเลือกชิ้นส่วนเนื้อเยื่อที่จะนำมาฟอกฆ่าเชื้อ 1. พืชที่เป็นเมล็ดควรเลือกเมล็ดที่มีความสมบูรณ์ที่สุด เมล็ดอ่อนหรือแก่ก็ได้ 2. พืชที่ใช้ใบขยายพันธุ์ เช่น แอฟริกันไวโอเลต กลอกซีเนีย หรือกุกลายหิน ควรเลือกใบเพิ่งแตกใหม่ เพราะการปนเปื้อนน้อยและเยื่อกำลังเจริญ 3. พืชที่ใช้ยอดขยายพันธุ์ ควรเลือกยอดที่เพิ่งจะแตกตาใหม่ เพราะเป็นช่วงที่พืชพร้อมจะเจริญเป็นต้น 4. พืชที่เป็นหัว เป็นเหง้าหรือแง่ง เช่น กล่วย ขิง ดาหลา ควรเลือกที่มีตาสมบูรณ์ ถ้าเป็นกล้วยควรเลือกหน่อที่มีใบแคบหรือหน่อที่กำลังงอก 5. พืชที่ใช้คัพภะ ควรเลือกคัพภะที่แก่ ไม่ควรเลือกที่อ่อนเกินไปจะไม่งอกที่มา : http://ittm.dtam.moph.go.th/data_all/articles/article27.htm |
หน่วยปฎิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)